ประวัติความเป็นมา

ประวัติวิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์

1.1  ประวัติความเป็นมา

                     กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้ง  วิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ปีการศึกษา  2525 โดยใช้อาคารเรียนวัดสว่างคงคาเป็นสถานที่ทำการสอนชั่วคราว  ปัจจุบันวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์  ตั้งอยู่เลขที่  12  ถนนสนามบิน ตำบลกาฬสินธุ์  อำเภอเมือง  จังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นที่ดินของราชพัสดุ  แปลงเลขที่  กส.  646 (14033)  เนื้อที่ทั้งหมด  28  ไร่  2 งาน  60  ตารางวาโรงเรียนสารพัดช่างกาฬสินธุ์ได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์

                     ที่ตั้ง   12 ถนนสนามบิน   ตำบลกาฬสินธุ์  อำเภอเมือง  จังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นที่ดินของราชพัสดุ   แปลงเลขที่ กส. 646 (14033)     เนื้อที่  29  ไร่  2  งาน  60  ตารางวา  ห่างจากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ไปตามเส้นทางกาฬสินธุ์ – ร้อยเอ็ด    (กิโลเมตรที่ 1+917.00 ซ้ายทาง)  ถนนสนามบิน  อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  รหัสไปรษณีย์  46000 

โทรศัพท์หมายเลข 0-4381-21012 / โทรสารหมายเลข 0-4381-21012

เว็บไซต์ www.ksicec.ac.th

1.2  การดำเนินงาน

ความเป็นมาโดยสังเขป

กรมอาชีวศึกษา ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนสารพัดช่างกาฬสินธุ์ ขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524

ว่าที่ร้อยตรียนต์ โชรัมย์ ทำหน้าที่ผู้ประสานงานในการจัดตั้ง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524  วันที่ 28 พฤษภาคม 2525 กรมอาชีวศึกษาได้บรรจุครู – อาจารย์ จำนวน 11 คน ซึ่ง ขณะนั้นยังไม่ได้รับงบประมาณ ในการก่อสร้าง จึงมีคำสั่งให้ช่วยราชการที่วิทยาลัย สารพัดช่างนครหลวง กรุงเทพมหานคร    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2525 เช่าอาคารของวัดสว่างคงคา เป็นที่ทำการชั่วคราว และเปิดให้บริการ จัดการเรียนการสอนรุ่นแรก หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 3 แผนกวิชา คือ วิชาพิมพ์ดีดไทย – อังกฤษเบื้องต้น ช่างตัดเสื้อสตรี เบื้องต้น และช่างเครื่องยนต์เล็ก และมอเตอร์ไซด์  ปี 2526 กรมธนารักษ์ ได้อนุญาตให้ใช้ที่ดินของราชพัสดุ แปลงทะเบียนเลขที่ กส 646 (14033) พื้นที่ 13 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบชุดแรกวันที่ 30 กันยายน 2526 เริ่มทำการก่อสร้าง รวมเวลาก่อสร้าง 400 วัน โดยบริษัท เลิศเอ็นจิเนียริ่ง ควบคุมงานก่อสร้าง โดยนายสมศักดิ์ สุจริต เจ้าหน้าที่กองออกแบบและก่อสร้าง กรมอาชีวศึกษา  วันที่ 10 มีนาคม 2527 ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายขุนทอง ภูผิวเดือน) เป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์  วันที่ 1 มกราคม 2528 ได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราว วัดสว่างคงคามายังที่ทำการ ปัจจุบัน

          นายมาโนชญ์ เนาวสินธุ์ ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2528 พ.ศ. 2528 เปิดทำการสอนหลักสูตร วิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง

          ว่าที่ร้อยตรียนต์ โชรัมย์ กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่อีกครั้ง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2529   พ.ศ. 2529 เปิดทำการสอนหลักสูตร วิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง

          นายสืบพงษ์ รักษาทรัพย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2530พ.ศ. 2530  เปิดทำการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง  พ.ศ. 2531 กรมธนรักษ์ ได้อนุญาตให้วิทยาลัยฯ ใช้พื้นที่เพิ่มเติมได้อีก 15 ไร่

          นายจำนงค์ ไชยยงยศ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2531 พ.ศ.

2532  เปิดทำการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง

นายสมใจ เชาว์พานิช ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2533

พ.ศ. 2533 เปิดทำการสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 25 รายวิชา  และหลักสูตรประกาศนียบัตรช่างฝีมือ (ปชม. 1 ปี) จำนวน 2 รายวิชาคือ วิชาช่างยนต์ และวิชาช่างวิทยุ – โทรทัศน์  

พ.ศ. 2534 เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 22 รายวิชา     หลักสูตรประกาศนียบัตรช่างฝีมือ (ปชม. 1 ปี) จำนวน 2 รายวิชา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 55 รายวิชา วันที่ 7 มิถุนายน 2534 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ ยกวิทยฐานะโรงเรียนสารพัดช่างกาฬสินธุ์ เป็นวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กรมอาชีวศึกษา

พ.ศ.2535 เปิดทำการสอน 4 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 16 รายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรช่างฝีมือ(ปชม. 1 ปี) จำนวน 2 รายวิชา  หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 39 รายวิชา  และหลักสูตรมัธยมศึกษา จำนวน 12 รายวิชา 

พ.ศ.2536 เปิดทำการสอน 4 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 23 รายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรช่างฝีมือ (ปชม. 1 ปี) จำนวน 2 รายวิชา หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 43 รายวิชา และหลักสูตรมัธยมศึกษา จำนวน 13 รายวิชา

พ.ศ.2537 เปิดทำการสอน 4 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 23 รายวิชา หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 43 รายวิชา หลักสูตรมัธยมศึกษา จำนวน 13 รายวิชาและกรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้วิทยาลัยฯ เปิดสอนในหลักสูตร ปวช. (หลักสูตร 2538) เป็นปีแรก โดยเปิดทำการสอนจำนวน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา ช่างยนต์ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ และสาขาวิชาบัญชี พ.ศ.2538 เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 23 รายวิชา หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 12 รายวิชา และหลักสูตร ปวช (หลักสูตร 2538 ) จำนวน 4 สาขาวิชา โดยเปิดทำการสอนสาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง เพิ่มอีก 1 สาขา

พ.ศ.2539 เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 23 รายวิชา หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 12 รายวิชา และหลักสูตร ปวช. (หลักสูตร 2538 ) จำนวน 5 สาขาวิชา โดยเปิดทำการสอน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา

                    นายสุพจน์ รักษาทรัพย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2540 พ.ศ.2540 เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 225 ชั่วโมง จำนวน 26 รายวิชา หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 11 รายวิชา และหลักสูตรปวช. (หลักสูตร 2538 ) จำนวน 5 สาขาวิชา และเริ่มเปิดหลักสูตร ปวช. เทียบโอน/สะสมหน่วยกิต) เป็นครั้งแรก จำนวน 1 สาขาวิชาคือ สาขาวิชา ช่างยนต์

          นายโสภณ กันภัย ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 พ.ศ.2541 เปิดทำการสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชาและหลักสูตร ปวช.(หลักสูตร 2538) จำนวน 5 สาขาวิชา พ.ศ.2542 เปิดทำการสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา และหลักสูตร ปวช. (เทียบโอนสะสมหน่วยกิต) จำนวน 6 สาขาวิชา โดยเปิด ทำการสอนสาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ เพิ่มอีก 1 สาขาวิชา

          นายเถลิงเกียรติ โนนทนวงศ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เมื่อ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543    พ.ศ. 2543 เปิดทำการสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา และหลักสูตร ปวช. (เทียบโอนสะสมหน่วยกิต) จำนวน 6 สาขาวิชา พ.ศ. 2544 เปิดทำการสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา และหลักสูตร ปวช. (เทียบโอนสะสมหน่วยกิต) จำนวน 6 สาขาวิชา และเปิดทำการสอนปวช.ทวิภาคี เป็นครั้งแรก จำนวน 1 รายวิชา คือ สาขาวิชาช่างยนต์

          นายวีระพล วระวิบุล ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2545 พ.ศ.2545 เปิดทำการสอน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา และหลักสูตร ปวช. (เทียบโอนสะสมหน่วยกิต) จำนวน 6 สาขาวิชา และ ปวช. ทวิภาคี จำนวน 1 รายวิชา

          นายชาญยุทธ โคตะนนท์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2545 พ.ศ. 2546 เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา หลักสูตร ปวช. (เทียบโอน/สะสมหน่วยกิต) จำนวน 8 สาขาวิชา โดยเปิดทำการ สอนเพิ่มอีก 2 รายวิชาคือ สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย และสาขาวิชาช่าง ซ่อมตัวถังและพ่นสี ปวช.ทวิภาคี จำนวน 1 สาขาวิชา และเปิดสอนหลักสูตร ปวส.เป็นปีแรก จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขางานยานยนต์ และสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

                     นายวิศวชาติ  สุวรรณราช ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547  ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  ปกติและ  ทวิภาคี 8 สาขาวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปกติ และทวิภาคี และเป็นครั้งแรกของการเปิดให้บริการ การเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในรูปแบบการเรียนแบบเทียบโอน ประสบการณ์ และสมทบ

                    นายไชยศักดิ์   ไชยศรี  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2552 จนถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ปกติและทวิภาคี 8 สาขาวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปกติและทวิภาคี อีกทั้งเปิดให้บริการ การเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในรูปแบบการเรียนแบบเทียบโอนประสบการณ์ และสมทบ

                     นายสุคนธ์  นาเมืองรักษ์  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554  จนถึงวันที่ 11  พฤศจิกายน  2556  เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 76 รายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ปกติและทวิภาคี 8 สาขาวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปกติและทวิภาคี อีกทั้งเปิดให้บริการ การเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในรูปแบบการเรียนแบบเทียบโอนประสบการณ์ และสมทบ

                     ปรัชญาเดิม “ใช้เวลาเพียงนิด    คิดได้    ทำเป็น    เห็นคุณค่าพัฒนางานตน”

                     เปลี่ยนเป็น “ทักษะดี  มีคุณธรรม เลิศล้ำวิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีมาตรฐานวิชาชีพสู่สากล”

                     วิสัยทัศน์ เดิม “มุ่งมั่นจัดการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษา  ให้ประชาชนอย่างทั่วถึงตลอดชีวิต  ในระดับกึ่งฝีมือ  ระดับฝีมือ  ระดับเทคนิค  และวิชาชีพระยะสั้น  อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน  ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน  ชุมชน  สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม”

          เปลี่ยนเป็น “สร้างอาชีพให้เป็นเลิศ เกิดรายได้ที่มั่นคงให้ผู้เรียนในระดับวิชาชีพระยะสั้น ระดับฝีมือ ระดับเทคนิค ระดับเทคโนโลยี อย่างมีคุณธรรม และมีคุณภาพ  ได้มาตรฐานสากล”

                     พันธกิจเดิม

          พันธกิจที่  1.  ผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพในหลักสูตรระยะสั้น  ปวช. และ ปวส.

พันธกิจที่  2.  สร้างเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน

พันธกิจที่  3.  วิจัย  สร้างนวัตกรรม  และถ่ายทอดเทคโนโลยี

          เปลี่ยนเป็น

พันธกิจที่ 1 ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

          พันธกิจที่ 2 สร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้

          พันธกิจที่ 3 วิจัย สร้างนวัตกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี
          พันธกิจที่ 4 สืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของไทย และรักษาไว้ซึ่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

นายสมพงษ์  แสนบุตร  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2556 – 30 กันยายน  2562  เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย) จำนวน 27  รายวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ปกติและทวิภาคี 9 สาขาวิชา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปกติและทวิภาคี 8 สาขาวิชา อีกทั้งเปิดให้บริการ การเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในรูปแบบการเรียนแบบเทียบโอนประสบการณ์ และสมทบ และได้มีการปรับเปลี่ยน  วิสัยทัศน์, พันธกิจ  เอกลักษณ์  อัตลักษณ์ ของวิทยาลัยฯ ใหม่ โดยคณะกรรมการสถานศึกษา

เอกลักษณ์:  สถานศึกษาดีเด่น  เน้นพัฒนาวิชาชีพสู่สังคม

          สถานศึกษาดีเด่น  หมายความว่า  วิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์  เป็นสถานศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีทักษะ  ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพและมีความโดดเด่นในวิชาการสร้างนวัตกรรม  พัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดประโยชน์แก่สังคม  และชุมชน

           เน้นพัฒนาวิชาชีพสู่สังคม  หมายความว่า  วิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์  เป็นสถานศึกษาที่มุ่งเน้นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีวิชาชีพตามมาตรฐานสากล  เป็นที่ยอมรับทางด้านฝีมือ  มีทักษะในวิชาชีพ  และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

เปลี่ยนเป็น    บริการวิชาชีพสู่ชุมชน

เอกลักษณ์:        เก่ง ดี มีความสุข

เก่ง  หมายความว่า  ผู้เรียนมีความรู้  ความสามารถ ทักษะ  วิชาการและวิชาชีพ

ดี  หมายความว่า  ผู้เรียนมีคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ  คือ  เป็นผู้มีความรับผิดชอบ  เป็นผู้มีวินัย  เป็นผู้มีความผูกพัน  เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์  และเป็นผู้มีคุณธรรมนำวิชาชีพ

มีความสุข  หมายความว่า  ผู้เรียนอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

เปลี่ยนเป็น  ทักษะดี  มีอาชีพ

นายวาทิช  ผ่านสำแดง  ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 28  พฤศจิกายน 2562 – 30  กันยายน  2564  เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทวิภาคี และได้มีการปรับเปลี่ยน ปรัชญา,วิสัยทัศน์, พันธกิจ  เอกลักษณ์  อัตลักษณ์ ของวิทยาลัยฯ ใหม่ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาดังนี้

ปรัชญาวิทยาลัย

ทักษะดี  มีคุณธรรม  เลิศล้ำวิชาการ  เชี่ยวชาญเทคโนโลยี  มีจิตอาสา พัฒนามาตรฐานวิชาชีพสู่สากล

วิสัยทัศน์ สร้างฝีมือ  สร้างอาชีพ  ยกระดับผู้เรียน   ให้เป็นเลิศ อย่างมีคุณภาพ  มีคุณธรรม ได้มาตรฐานสากล

พันธกิจพันธกิจ

พันธกิจพันธกิจที่  1 

ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา ในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

พันธกิจที่  2 

สร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้

พันธกิจที่  3 

วิจัย  สร้างนวัตกรรม  และถ่ายทอดเทคโนโลยี

พันธกิจที่  4 

สืบสานขนบธรรมเนียม  ประเพณีอันดีงามของไทย  มีจิตอาสา  และรักษาไว้ซึ่งการปกครอง

ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เอกลักษณ์:       “ บริการวิชาชีพสู่สังคม ”

อัตลักษณ์         “ทักษะดี    มีอาชีพ”

          และเมื่อวันที่ 21  ธันวาคม  2564   ได้เปลี่ยนชื่อ จากวิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์  เป็นวิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ ตามนโยบายของกรมอาชีวศึกษา

                    นายอรุณ เลิศอุดมโชค ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 – ปัจจุบัน  เปิดทำการสอน 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น (หลักสูตรหลากหลาย หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทวิภาคี และได้มีการปรับเปลี่ยน ปรัชญา,วิสัยทัศน์, พันธกิจ  เอกลักษณ์  อัตลักษณ์ ของวิทยาลัยฯ ใหม่ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาดังนี้

ปรัชญาวิทยาลัยเดิม ทักษะดี  มีคุณธรรม  เลิศล้ำวิชาการ  เชี่ยวชาญเทคโนโลยี  มีจิตอาสา พัฒนามาตรฐานวิชาชีพสู่สากล

          เปลี่ยนเป็น ความรู้ดี มีทักษะเยียม เต็มเปี่ยมจิตอาสา พัฒนาด้วยเทคโนโลยี มีคุณธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสู่สากล

วิสัยทัศน์ สร้างฝีมือ  สร้างอาชีพ  ยกระดับผู้เรียน   ให้เป็นเลิศ อย่างมีคุณภาพ  มีคุณธรรม ได้มาตรฐานสากล

          เปลี่ยนเป็น ผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาให้เป็นเลิศ ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสูงทุกระดับ อย่างมีคุณภาพ เพื่อการพัฒนาประเทศ

พันธกิจพันธกิจเดิม

พันธกิจพันธกิจที่  1  ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษา ในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

พันธกิจที่  2  สร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้

พันธกิจที่  3  วิจัย  สร้างนวัตกรรม  และถ่ายทอดเทคโนโลยี

พันธกิจที่  4  สืบสานขนบธรรมเนียม  ประเพณีอันดีงามของไทย  มีจิตอาสา  และรักษาไว้ซึ่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เอกลักษณ์:       “ บริการวิชาชีพสู่สังคม ”

อัตลักษณ์         “ทักษะดี    มีอาชีพ”

เปลี่ยนเป็น

พันธกิจที่  1 

ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในภาคสมทบ และระบบเทียบโอนประสบการณ์

พันธกิจที่  2 

เสริมสร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ความร่วมมือเพื่อการระดมทรัพยากร และยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ และส่งเสริม พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรให้มีสมรรถนะที่สูงขึ้น

พันธกิจที่  3 

วิจัย สร้างนวัตกรรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี ให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์การศึกษาแห่งอนาคต และเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานการ          ปฏิบัติงานทั้งในระดับชาติและระดับสากล และบริหารจัดการด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี

พันธกิจที่  4 

สืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของไทย และรักษาไว้ซึ่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เอกลักษณ์:       “ บริการวิชาชีพสู่สังคม ”

อัตลักษณ์         “อาชีพหลากหลาย  มีรายได้มั่นคง”